บริการวิชาการ

ในวันที่ 4 ตุลาคม 2567 อาจารย์อัมพิกา เล่าประวัติชัย หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการ และอาจารย์อภิญญา จันทร์ดาแสง หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์  ได้รับเชิญจากวิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน เพื่อเป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้วิชาชีพให้กับนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเขน โดยเน้นทั้งการพัฒนาทักษะเฉพาะด้าน(Up-Skil) และทักษะใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน (Re-SkII) และเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษา และสนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับประชาสัมพันธ์หลักสูตรการเรียนของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง คณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินงาน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการ Generative AI และ AR Technology ในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษา พัฒนาทักษะ และสร้างอาชีพ แก่นักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการบูรณาการ Generative AI และ AR Technology ณ โรงเรียนชัยเกษมวิทยา จ.ประจวบคีรีขันธ์

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง คณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินงาน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการ Generative AI และ AR Technology ในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษา พัฒนาทักษะ และสร้างอาชีพ แก่นักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการบูรณาการ Generative AI และ AR Technology ณ โรงเรียนวัดนางสาว จ.สมุทรสาคร

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง คณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินงาน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การบูรณาการ Generative AI และ AR Technology ในการสร้างนวัตกรรมด้านการศึกษา พัฒนาทักษะ และสร้างอาชีพ แก่นักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการบูรณาการ Generative AI และ AR Technology ณ โรงเรียนบัวปากท่าวิทยา จ.นครปฐม

เมื่อวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2567 นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ ได้ร่วมโครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาทุกคณะ และโครงการพัฒนานักศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะ ประจำปีการศึกษา 2566 จัดโดย สำนักกิจการนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และ โรงเรียนวัดเจ้าแปดทรงไตรย์ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 สาขาวิชาการบัญชี (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมมือกับฝ่ายพัฒนาชุมชนและสังคมสำนักงานเขตจอมทอง, กรุงเทพฯ ได้จัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประกอบด้วยกิจกรรม "การบริหารจัดการรายรับ-รายจ่าย ด้วย App Smart Me" และ "การจัดทำผ้าบาติก" ณ ชุมชนวัดไทรและตลาดน้ำวัดไทร เขตจอมทองกิจกรรมนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจและความรู้ใหม่ๆ ไม่น้อยให้กับผู้เข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทางการเงินด้วยเทคโนโลยีใหม่ หรือการเรียนรู้ศิลปะและความงดงามของการสร้างสรรค์ผ้าบาติก ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการศึกษาและการฝึกอบรมอาชีพ เพื่อพัฒนาชุมชนให้แข็งแรงยิ่งขึ้นภาพบรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความสุข การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการทำงานร่วมกันอย่างมีความหมาย จากการนำเสนอและการทำกิจกรรมกลุ่ม เราได้เห็นความตั้งใจและความพยายามของทุกคนในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจุดเด่นของกิจกรรมนี้คือการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแอปพลิเคชัน "Smart Me" ที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถจัดการรายรับ-รายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างสรรค์ผ้าบาติกที่ไม่เพียงแต่เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ แต่ยังเป็นการสืบทอดและรักษาวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่     ขอขอบคุณอาจารย์ณัฏฐิตาพร แก้วรุจี และอาจารย์อานุภาพ ทองบ่อ ที่ให้ความรู้และประสบการณ์อันล้ำค่า รวมถึงชุมชนวัดไทรและทุกคนที่มาร่วมในกิจกรรมนี้

คณะบริหารได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการโดย อาจารย์ศตวรรษ คันธจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ และอาจารย์สินชัย ประเสริฐวารี อาจารย์ประจำสาขาวิขาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์ & Digital Literacy Skill" แก่คณาจารย์และนักเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม 

สาขาวิชาการบัญชี ได้จัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมและบูรณาการ การเรียนการสอนการวิจัย เพื่อสร้างทักษะด้านการบัญชีให้แก่นักศึกษา รวมถึงสร้างองค์ความรู้ด้านการบัญชีให้กับประชาชนในชุมชนเห็นถึงประโยชน์จากการจัดทำบัญชี

ระหว่างวันที่ 18-19 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา คณาจารย์คณะบริหารธุรกิจได้แก่      -  ดร.กิตติอำพล สุดประเสริฐ      -  อาจารย์ ว่าที่ ร.ต.ญ. นันทพัทธ์ แก้วแสง      -  อาจารย์ศตวรรษ คันธจันทร์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้บริหารครูและบุคลากร วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม โดยได้จัดอบรมหัวข้อ “การใช้ Google Tools เพื่อการพัฒนางาน” และ “การพัฒนาทีมงานเพื่อการบริการที่เป็นเลิศ”

วันที่ 25 กรกฏาคม 66 ที่ผ่านมา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ได้ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แก่นักเรียนตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการสร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ณ โรงเรียนวัดนางสาว จ.สมุทรสาคร

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง        คณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แก่นักเรียนตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน        โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการสร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ณ โรงเรียนบัวปากท่าวิทยา จ.นครปฐม

วันที่ 22 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะบริหารธุรกิจได้ ส่งมอบขยะขวดพลาสติกจากการรณรงค์คัดแยกขยะพลาสติกให้ถูกวิธี ภายใต้กิจกรรมจิตอาสาให้แก่ วัดจากแดง อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำขวดพลาสติกไปรีไซเคิลเป็นผ้าบังสุกุล จีวรพระ

วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซึ่งเป็นประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เป็นโครงการที่มุ่งเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แก่นักเรียนตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน  เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการสร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ณ โรงเรียนชัยเกษมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2566 หลักสูตรนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จัดโครงการจิตอาสา บริการวิชาการพัฒนาชุมชน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และพัฒนากิจกรรม ปีการศึกษา 2565  ณ ศูนย์เรียนรู้เฌอชี๊ญ่า ตลาดไกวเปล อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

ตลอดปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาการจัดการ ร่วมกับ สาขาระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจดิจิทัล บริการวิชาการให้แก่วัดอุดมรังสี เขตหนองแขม กรุงเทพฯ โดยได้ร่วมกันจัดทำ "เซียมซีออนไลน์" และเป็นช่องทางการเข้าถึงฐานข้อมูลของวัดอุดมรังสีได้ ผู้สนใจสามารถติดตามและเข้าร่วมกิจกรรมได้ทางลิงค์ https://www.saubiz.com/index.php

ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาการจัดการ ได้มีการบริการวิชาการและบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา การออกแบบองค์การ หัวข้อ "การพัฒนาองค์การ" โดยได้จัดทำ QR Code ใบเซียมซี ให้แก่วัดหนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร

ในวันที่ 21 ตุลาคม 2565 สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จัดกิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านปลักไม้ลาย บ้านเลขที่ 54 หมูที่ 10 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ให้ความรู้เรื่องการบันทึกบัญชี/การคำนวณต้นทุนการประกอบอาชีพ รู้การคำนวณกำไรขาดทุนจากการประกอบอาชีพแต่ละอาชีพ เพื่อนำข้อมูลจากการบันทึกบัญชีไปบริหารจัดการ กำหนดแผนการใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิตได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้จัก พร้อมฝึกปฏิบัติการบันทึกบัญชีด้านรายรับ-รายจ่าย/ต้นทุนการประกอบอาชีพ การหายอดคงเหลือ /การวิเคราะห์บัญชีที่ถูกต้อง

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 คณะบริหารธุรกิจ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนางานบริการวิชาการ สู่งานวิจัย” โดย รศ.ดร.พรรณธิดา เหล่าพวงทรัพย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ได้กล่าวเปิดงาน และกล่าวต้อนรับวิทยากร ทั้งนี้คณะบริหารธุรกิจได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. กรัณย์พล วิวรีธมงคล เป็นวิทยากรร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้ผลงานบริการวิชาการรับใช้สังคม เพื่อก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้